5 สุดยอดสมุนไพรแก้ปวดเข่า หาทานง่าย สรรพคุณเพียบ

“5 สมุนไพรแก้ปวดเข่า สมุนไพรใกล้ตัว ที่คุณอาจไม่เคยรู้สรรพคุณ” ประเทศไทยของเรากำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้แล้ว โรคภัยไข้เจ็บอย่างหนึ่งที่ผู้สูงอายุมักจะเป็นกันบ่อย ก็คืออาการปวดข้อเข่า ข้อเข่าเสื่อม ซึ่งจะพบได้มากในผู้สูงอายุ และปัจจุบันมักจะพบในคนวัยทำงาน ที่นั่งทำงานต่อเนื่องติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการออกกำลังกายที่ไม่ถูกต้อง

อาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆมักจะเกิดขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะเพศหญิง เนื่องจากในช่วงที่มีบุตร จะเป็นช่วงที่แคลเซียมถูกใช้ไปอย่างมาก หากในช่วงที่ตั้งครรภ์ไม่ได้รับประทานแคลเซียมเพิ่ม พออายุมากขึ้นก็มีโอกาสจะปวดเข่าเพิ่มมากขึ้นกว่าคนทั่วไปด้วย

สมุนไพรแก้ปวดเข่า

การรักษาและบรรเทาอาการปวดเข่า

การรักษาอาการปวดเข่านั้น ต้องบอกว่าการรักษาให้หายขาด 100% เป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก โดยส่วนใหญ่แล้วการรักษาทำได้เพียงประคองอาการ บรรเทาความเจ็บปวด และไม่ให้อาการเป็นหนักมากขึ้นเท่านั้น การบรรเทาอาการปวดเข่า ในผู้สูงอายุ มีมากมายหลายวิธี มักจะต้องใช้ควบคู่กันไป เพื่อให้การรักษาอาการปวดเข่าได้ผลและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งได้แก่

  • การบริหารเข่าและต้นขาด้านหน้า การบริหารกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า จะช่วยทำให้มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง มาช่วยรองรับน้ำหนักแทนข้อเข่าโดยตรง ซึ่งจะเป็นวิธีที่บรรเทาอาการปวดเข่าได้ดีในผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ยังพบว่า การปั่นจักรยาน หรือจักรยานออกกำลังกายแบบที่ตั้งในบ้าน จะช่วยลดอาการปวดเข่าสำหรับผู้สูงอายุได้ดีอีกด้วย (อ่านต่อ>> จักรยานออกกำลังกาย 10 รุ่นแนะนำ ยี่ห้อไหนน่าสนใจบ้าง)
  • การใช้สายรัดเข่า จะทำหน้าที่เป็นสายรัดพยุงข้อเข่า ซึ่งจะช่วยไม่ให้ตรงจุดข้อต่อและหัวเข่า ต้องแบกรับน้ำหนักตัวและทำงานหนักมากเกินไป เวลาที่ปวดเข่ามาก การพันสายรัดพยุงข้อเข่า จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ดี (อ่านต่อ>> วิธีการใช้สายรัดเข่าเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่า)
  • การฝังเข็ม มีงานวิจัยที่อ้างว่า การฝังเข็มมีส่วนในการช่วยบรรเทาอาการปวดหัวเข่าในผู้สูงอายุได้ โดยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตบริเวณจุดที่อักเสบและปวด เมื่อเลือดไหลเวียนดี อาการปวดก็จะบรรเทาลดน้อยลงไปด้วย
  • การทายาบรรเทาอาการปวด ยาบรรเทาปวดที่ออกฤทธิ์ร้อน เช่นยาหม่องเขียว ที่ผู้สูงอายุมักจะมีติดบ้านไว้ หรือถ้าเป็นยาแผนปัจจุบันก็จะเป็นในส่วนยานวดร้อน นูโรเฟนเจล relax Cream เคาเตอร์เพน ก็จะช่วยบรรเทาอาการอักเสบและปวดเข่าได้ในระดับหนึ่ง
  • สมุนไพรแก้ปวดเข่า สมุนไพรไทย มีสรรพคุณในการต้านการอักเสบ ซึ่งหลายคนรับประทานแล้ว อาการปวดเข่าก็บรรเทาลงได้ ซึ่งวันนี้เราจะนำสมุนไพรแก้ปวดเข่ามาแนะนำกันด้วยนะคะ

  5 สุดยอดสมุนไพรไทย แก้ปวดเข่าได้ชะงัด

1. ขมิ้นชัน

สมุนไพรแก้ปวดเข่า

ขมิ้นชันถือว่าเป็นสมุนไพรชั้นเลิศ ที่สามารถบรรเทาอาการปวดเข่าได้เป็นอย่างดี เนื่องจากสรรพคุณของตัวมันเอง มีฤทธิ์ต้านการอักเสบที่สูง

สารสกัดจากขมิ้นชัน ปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียน จากองค์การอาหารและยา โดยถือว่าเป็นสมุนไพรตัวแรกที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนปัจจุบัน สามารถใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบันตัวที่มีสรรพคุณเช่นเดียวกันได้ ซึ่งนั่นก็คือ การบรรเทาอาการปวดจากข้อเข่าเสื่อม ซึ่งมีการวิจัยและค้นพบว่า สารสกัดจากขมิ้นชัน ออกฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวด เทียบเท่ากับยาต้านอักเสบไอบูโพรเฟน และยังมีผลข้างเคียงต่อร่างกายน้อยกว่าการรับประทานยาแผนปัจจุบันมากอีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ยาทาแก้ปวดเข่า ที่ทำจากสมุนไพรขมิ้นชัน ยี่ห้อ Relax Cream ที่ใช้สารสกัดจากขมิ้นชันและสมุนไพรออกฤทธิ์แก้อักเสบ นำมาผสานกับเทคโนโลยีนาโน ทำให้สามารถลดการอักเสบบริเวณข้อเข่าได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

2. ขิง

สมุนไพรแก้ปวดเข่า

กรณีที่มีอาการปวดเข่า จากโรคข้อเข่าอักเสบ และไม่ได้เกิดจากเข่าเสื่อมหรือไขข้อไม่ดี สมุนไพรพื้นบ้านของไทยที่มีนามว่า “ขิง” นี้ จะช่วยคุณได้แบบไม่น่าเชื่อเลยล่ะ

วิธีการ

  • ใช้ “ขิงแก่” น้ำหนัก 5 ขีด นำมาผสมน้ำตาลทรายแดง 1 ขีด
  • ตำให้เข้ากันพอหยาบ
  • นำเนื้อขิงแก่ที่ตำไว้ ห่อผ้าขาวบาง แล้วนำไปพอกบริเวณที่ปวด ใช้ผ้ามัดซ้ำอีกที หรือจะสวมสายรัดเข่าทับอีกชั้นก็ได้
  • สามารถพอกทิ้งไว้ได้นานทั้งคืน เปลี่ยนวันละ 1-2 ครั้งก็เพียงพอ

สำหรับอาการปวดเข่าที่ไม่ได้หนักหนามากจนเกินไป การรับประทานน้ำขิง จะช่วยลดการอักเสบในร่างกาย ช่วยบรรเทาอาการปวด โดยทางที่ดีควรซื้อน้ำขิงที่ใส่น้ำตาลน้อย หรือต้มน้ำขิงดื่มเอง นอกจากจะแก้อาการปวดเข่าได้ดีแล้ว ยังช่วยในเรื่องของกรดไหลย้อน และทำให้ชุ่มคออีกด้วย

3. เมล็ดลำไย

สมุนไพรแก้ปวดเข่า

ในต่างประเทศ มีงานวิจัยที่ค้นพบว่า สารประกอบโพลีฟีนอล ที่มีอยู่ในผลไม้จำพวกองุ่นและแอปเปิ้ล มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยยับยั้งเอนไซม์ที่สลายกระดูกอ่อน บรรเทาอาการปวดเข่าได้ดี แต่ก็ต้องบอกเลยว่า โชคดีที่เกิดมาเป็นคนไทย เพราะว่าผลไม้แสนอร่อยอย่าง “ลำไย” ที่เราทานแต่เนื้อ แล้วทิ้งเมล็ดกันมาโดยตลอดเนี่ย มีสารประกอบที่ช่วยบรรเทาอาการปวดเข่าที่สูงกว่าองุ่นหรือแอปเปิ้ลของต่างชาติเสียอีก

โดยมีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นำสารสกัดจากเมล็ดลำไยมาวิจัย และพบว่า คลินิก สารโพลีฟีนอลทั้ง 3 ตัวที่อยู่ในเมล็ดลำไย ช่วยป้องกันการเสื่อมสลาย และช่วยยืดอายุกระดูกอ่อนได้เป็นอย่างดี

ได้มีการทดลองกับผู้ป่วยโรคไขข้ออักเสบและรูมาตอยด์ เพราะว่าโครงสร้างกระดูกอ่อนและกล้ามเนื้อของผู้ป่วย มีความแข็งแรงมากขึ้น และสามารถลดอาการปวดข้อเข่าไปได้มาก ที่น่าเหลือเชื่อมากก็คือ ครีมทาแก้ปวดเข่าที่มีสารสกัดเมล็ดลำไยนี้ มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวดได้ดีเทียบเท่ากับยาไดอะเซียรีน ซึ่งเป็นยาแก้โรคข้อเข่าเสื่อมโดยเฉพาะ

และสำหรับใครที่ยังไม่อยากซื้อผลิตภัณฑ์มาใช้ หรืออาการปวดเข่ายังไม่ได้เป็นหนักมาก อาจจะใช้วิธีแบบภูมิปัญญาไทย ดังนี้

  • นำเมล็ดลำไยสดประมาณ 20-30 เมล็ด มาโขลกให้แตก ไม่ต้องถึงกับละเอียด
  • จากนั้นนำไปแช่ในเหล้าขาว ทิ้งเอาไว้เป็นเวลา 7 วัน
  • ใช้เฉพาะส่วนที่เป็นน้ำนำมาทาบริเวณที่ปวดเข่า วันละ 1-2 ครั้ง

4. เพชรสังฆาต

สมุนไพรแก้ปวดเข่า

เพชรสังฆาต เป็นสมุนไพรโบราณ มักรู้จักกันในนาม ยาบรรเทาอาการริดสีดวงทวาร แต่แท้จริงแล้วตามตำราของแพทย์แผนโบราณ เพชรสังฆาตยังมีสรรพคุณ “แก้กระดูกแตก หัก ขับลมในลำไส้” อีกด้วย หมอพื้นบ้าน มักจะใช้เถาของเพชรสังฆาต นำมาตำให้ละเอียด แล้วพอกบริเวณกระดูกที่หักหรือปวด จะช่วยลดการปวดบวม อักเสบได้

มีการนำเพชรสังฆาตมาวิจัย และพบว่าในเพชรสังฆาต มีวิตามินซีสูง ซึ่งยืนยันถึงสรรพคุณในการรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน มีแคโรทีน ที่เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งยังมีสารอนาบอลิคสเตียรอยด์ ที่ช่วยในการสมานกระดูก

มีการให้กลุ่มสตรีวัยทองที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคกระดูกพรุน รับประทานเพชรสังฆาตแคปซูล ครั้งละ 2 แคปซูลวันละ 3 ครั้งหลังอาหาร พบว่าเพชรสังฆาตช่วยในการเพิ่มมวลกระดูกและรักษาอาการกระดูกแตก ช่วยลดอาการปวดเข่า

ข้อควรระวัง

จะมีข้อควรระวัง สำหรับการรับประทานแบบสด ควรซอยเพชรสังฆาตให้ละเอียด ห้ามเคี้ยว อาจจะใช้กลืนพร้อมน้ำ หรือยัดเข้าไปในกล้วยน้ำว้าสุกก็ได้ และไม่ควรรับประทานต่อเนื่องเกิน 2 สัปดาห์ สำหรับผู้ป่วยเป็นโรคไต ห้ามรับประทาน

5. เถาวัลย์เปรียง

สมุนไพรแก้ปวดเข่า

เถาวัลย์เปรียง เป็นสมุนไพรแผนไทย ที่ปรากฏอยู่ในตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ในหลายคัมภีร์ ใช้เป็นตำรับยา แก้เหน็บชา แก้กษัย แก้เมื่อยปวด ขับปัสสาวะ

มีงานวิชาการพบว่า เถาวัลย์เปรียง มีสรรพคุณในการช่วยอาการแก้ปวดเข่า จากเข่าเสื่อม โดยเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับนาพร็อกเซ็น ยาไดโคลฟีแนค ที่เป็นยาต้านการอักเสบและบรรเทาอาการปวดเข่า ปวดหลังส่วนล่าง พบว่าเถาวัลย์เปรียงมีสรรพคุณในการลดการอักเสบและแก้ปวดได้ใกล้เคียงกัน

มีงานวิจัยที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ศึกษาถึงสรรพคุณของเถาวัลย์เปรียง พบว่า การรับประทานเถาวัลย์เปรียงขนาด 400 mg วันละ 2 ครั้ง ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ช่วยให้ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมมีอาการปวดลดลง เทียบเท่ากับยานาโปรเซน และยังมีความปลอดภัย ไม่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารไม่ต่างกันด้วย แต่ราคาถูกกว่าถึง 4-6 เท่าตัว

ข้อควรระวัง

ข้อมูลของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แนะนำว่า เนื่องจากสารสกัดของเถาวัลย์เปรียง มีสรรพคุณในการขยายหลอดเลือด และช่วยลดความดันโลหิต ดังนั้นจึงแนะนำว่า ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน รวมถึงผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่รับประทานยาแผนปัจจุบันเพื่อควบคุมความดันอยู่แล้ว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานเช่นเดียวกัน ส่วนในเรื่องอันตรายต่อไต ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานว่าเถาวัลย์เปรียง มีผลเกี่ยวข้องกับระบบไตแต่อย่างใด


สมุนไพรแก้ปวดเข่า ทั้ง 5 ประเภท ที่เราได้นำมาแนะนำกันในวันนี้ ส่วนมากแล้วจะหาได้ง่าย และมีสรรพคุณในการแก้ปวดเข่าได้ดี นอกจากการทา หรือรับประทานยาแล้ว ควรที่จะพยายามทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อขาด้านหน้า และสะโพก เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งจะเป็นการสร้างกล้ามเนื้อมารองรับ และแบ่งเบาภาระแรงกดทับที่บริเวณหัวเข่า จะช่วยลดอาการปวดเข่าได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย